วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ต้นพญาสัตบรรณ (ต้นตีนเป็ด)



ต้นพญาสัตบรรณ



ลักษณะทั่วไป


ตีนเป็ด เป็นไม้พื้นบ้านของไทย จัดอยู่ในวงศ์ Apocynaceae พันธุ์ไม้วงศ์นี้มีทั้ง ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก และจำนวนมากที่เป็นเถา กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อน ทั่วโลก และเป็น ไม้ประดับที่นิยมปลูกกันมาก เช่น ยี่โถ รำเพย พังพวยฝรั่ง เป็นต้น ลักษณะเด่นของพันธุ์ไม้วงศ์นี้ สังเกตได้ง่ายจากน้ำยางสีขาว ใบแบบขึ้นตรงกันข้ามหรือเป็นวงรอบ กิ่งดอกตูม ซึ่งมีกลีบดอกเวียนซ้อนทับไปทางเดียวกัน ผลเป็นแบบฝักคู่เชื่อมติดกับฐาน ตีนเป็ด ถือว่าเป็นไม้โตเร็วชนิดหนึ่งที่ควรทำการศึกษา เนื่องจากเนื้อไม้ของตีนเป็ด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง ประกอบกับเป็นไม้ที่ไม่ทิ้งใบทำให้พื้นที่เขียวชะอุ่ม ดินชุ่มชื้น จึงสามารถนำไปปลูกเพื่อช่วยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมได้ดีทั้งยังมีนวทางที่น่าสนใจสำหรับ ผู้ที่จะปลูกเพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจ เพราะไม้ตีนเป็ดมีผู้สนใจอบถามกันมากในการใช้​เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการทำดินสอดำในบ้านเรา ตีนเป็ด เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 35-40 ม.เรือนยอดของต้นเล็กรูปเจดีย์ ต้นใหญ่ เรือนยอดค่อนข้างแบน โคนต้นมักจะเป็นพูพอนลำต้นเป็นร่องตามยาว เปลือกสีเทาหรือเทาอมเหลือง หรือสีน้ำตาลถึงน้ำตาลแดงค่อนข้างหนาแต่เปราะเรียบหรือแตกเป็นร่องเปลือก ชั้นในสีน้ำตาลมีน้ำยางสีขาวไหลมาก
ดอกขนาดเล็กสีขาวอมเขียว ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ปากท่อของกลีบดอกมีขนยาวปุกปุย ผลเป็นฝักกลมยาวเรียวเกลี้ยงและห้อยลงสู่พื้นดิน ฝักออกเป็นคู่ขนาดโตเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ยาว 30-40 ซม. เมล็ดภายในรูปทรงบรรทัดแคบ ๆ ยาวประมาณ 7 มม. มีขนยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง เมื่อฝักแก่จะแตกออกเมล็ดซึ่งมีขนจะปลิวกระจายไป ตามลม ระยะเวลาการเป็นดอกผล ดอกเริ่มบานประมาณเดือนตุลาคม-ธันวาคม และจะเริ่มติดฝักประมาณเดือนมกราคม ลักษณะเนื้อไม้มีมีแก่น เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอค่อนข้างเหนียว เนื้ออ่อนไสกบตบแต่งง่ายมาก ความถ่วงจำเพาะประมาณ 0.41
การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ ไม้ตีนเป็ดมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ลักษณะการขึ้น มักกระจัดกระจายอยู่ห่าง ๆ กัน ไม่พบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติค่อนข้างต่ำ มักไม่พบลูกไม้บริเวณใต้ลำต้นหรือใกล้เคียงต้นแม่ในป่าธรรมชาติ มักพบอยู่ในบริเวณป่าที่ราบบริเวณป่าพง และริมลำห้วยทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบขึ้นอยู่ตามริมห้วยในป่าเบญจพรรณ ไม่พบไม้ตีนเป็ดในป่าเต็งรังหรือบริเวณป่าที่สูงในป่าดงดิบทางภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต​้ จะขึ้นทั่วไปตามชายป่าพรุ และในป่าที่ลุ่มตั้งแต่ระดับน้ำทะเลปานกลางถึง 1,000 ม. ซึ่งสามารถพบเห็นได้ประปราย 2 ข้างถนนหลวง ในต่างประเทศพบที่อินเดียว จีนตอนใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และควีนแลนด์



การขยายพันธุ์และการผลิตกล้าไม้


วิธีการขยายพันธุ์ที่นิยมกันทั่วไปสำหรับไม้ป​่า คือ การขยายพันธุ์โดยอาศัยเมล็ด เนื่องจากการผลิตกล้าไม้จำนวนมาก ๆ นั้น การเพาะเมล็ดทำได้สะดวกที่สุด ตลอดจนการดูแลรักษากล้าไม้ก็ไม่ต้องอาศัยวิธีปฏิบัติที่ยุ่งยากมากนัก วิธีการเพาะเมล็ดจึงเป็นที่นิยมโดยทั่วไป เพราะทำได้ง่ายประหยัดและได้ผลดีนอกจากการผลิตกล้าโดยการเพาะเมล็ดด้วย การผลิตกล้าไม้ตีนเป็ดยังสามารถ ทำได้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากการทดลองของอาจารย์ปราณี, ฮัมเมอร์ลิงค์ (หัวหน้าโครงการพัฒนาการผลิตกล้าไม้โตเร็วและ​ปลอดโรคเพื่อการปลูกป่าและการอุตสาหกรรม ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ปรากฏว่าตีนเป็ดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีการเจริญ เติบโตดี
เทคนิคการเพาะชำกล้าไม้


การเพาะกล้าไม้ตีนเป็ด ก่อนอื่นต้องมีเมล็ดพันธุ์ที่ดีเสียก่อน การเลือกเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นแม่ที่ดีจะให้กล้าไม้คุณภาพดี ซึ่งเมื่อนำไปปลูกสร้างสวนป่าก็จะให้ผลผลิตเน​ื้อไม้ ที่ดีด้วย การเลือกแม่ไม้เพื่อเก็บเมล็ดต้องดูว่ามีลักษณะลำต้นเปลาตรง สูงเด่น และมีเรือนยอด ที่สมบูรณ์ ลำต้นแข็งแรง ไม่มีโรคและแมลงรบกวน เมื่อเลือกหาแม่ไม้ที่ดีได้แล้วควรเก็บเมล็ด ให้ถูกต้องตามฤดูกาล เนื่องจากเมล็ดของต้นตีนเป็ดมีขนาดเล็กเบามีขน เมื่อฝักแก่จะแตกออกทำให้เมล็ดภายในปลิวกระจายไปตามลม หากปล่อยให้ฝักแตกแล้วจะไม่สามารถเก็บเมล็ดได​้โดยทั่วไปจะเก็บเมล็ดได้ราวเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนเมษายน ซึ่งแต่ละท้องที่จะแตกต่างกัน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศ ความชื้น และปัจจัยต่าง ๆ ที่ต้นตีนเป็ดขึ้นอยู่ ถ้าต้นแม่ที่เลือกอยู่ในเขตภาคเหนือและอีสานจะแตกต่างกันมากกับตีนเป็ดที่ขึ้นทางภาคใต้ ขึ้นอยู่กับการคอยสังเกตดูว่า ต้นแม่นั้นออกดอกเมื่อใดและเป็นฝักเวลาใด การเก็บเมล็ดบนลำต้นใช้วิธีสอยฝัก ลักษณะฝักแก่เป็นสีน้ำตาล แต่ถ้าปล่อยให้ฝักเป็นสีน้ำตาลหมดทั้งฝักเป็นการเสี่ยงต่อโอกาสที่ฝักจะแตก และเมล็ดปลิวกระจายไปได้ง่าย ควรเก็บเมื่อฝักห่ามใกล้แก่ สีของฝักเป็นสีน้ำตาลปนเขียว ฝักที่เก็บได้จะต้องนำมาตากแดดประมาณ 2 วัน ฝักจะแตกสามารถแยกเอาเมล็ดออกได้ การตากมีข้อควรระวัง คือ เมื่อฝักแตกเมล็ดจะถูกลมปลิวต้องใช้มุ้งลวดพลาสติก คลุมฝักเอาไว้ตลอดเวลาที่ตากเมล็ดที่แยกออกจากฝักแล้วหากไม่นำไปเพาะทันทีจะต้องเก็บไว้ในสภาพปลอดความชื้นด้วยการเก็บใส่ถุงพลาสติกปิดสนิท แล้วเก็บไว้ในอาคารหรือตู้เย็นอัตราการงอกของเมล็ดที่เก็บมาจาก ต้นใหม่ ๆจะดีกว่าเมล็ดที่เก็บค้างปีเอาไว้
การเพาะเมล็ดและผลิตกล้าไม้ การเพาะเมล็ดเพื่อเตรียมกล้าไม้ โดยทั่วไปมี 2 วิธี


1. โดยการหยอดเมล็ดลงในถุงบรรจุดินที่เตรียมไว้และรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ วิธีนี้ไม่ต้องย้ายกล้าลงถุงอีก


2. โดยการเพาะเมล็ดในแปลงเพาะหรือกะบะเพาะก่อน เมื่อเมล็ดงอกจนมีใบและความสูงประมาณ5-7 ซม. สามารถย้ายกล้าลงถุงชำที่บรรจุดินเตรียมไว้ วิธีที่ 2 จะนิยมใช้มากกว่าวิธีแรก เพราะได้ผลดีกว่าและสะดวก วัสดุที่จะใช้ในกะบะเพาะควรใช้ทรายหยาบปานกลางหรือดินร่วน เพาะโดยหว่านเมล็ดให้กระจายทั่ว ๆ แล้วกลบด้วยทรายอีกชั้นหนึ่งป้องกันไม่ให้เมล​็ดกระเด็นเวลารดน้ำ วัสดุที่ใช้ในการเพาะชำ ควรใช้ดินร่วนปนทรายผสมปุ๋ยคอกเล็กน้อย จะช่วยให้ กล้าไม้เจริญเติบโตได้ดีขึ้นการย้ายกล้าไม้ลงในถุงชำควรย้ายเวลาเช้าหรือเย็นซึ่งอากาศไม่ร​้อนจัดทำให้กล้าไม้ไม่เหี่ยวเฉาและมีอัตราการรอดตายสูง เวลาย้ายควรรดน้ำกล้าให้เปียกชุ่มใช้ไม้ขนาดเล็กแซะกล้าไม้จากแปลงเพาะ ระวังอย่าให้รากขาด วางเรียงในถังน้ำขนาดเล็ก ให้รากกล้าไม้จุ่มอยู่ในน้ำ จำนวนกล้าที่ถอนในแต่ละครั้งไม่ควรจะมากเกินไป รดน้ำในถุงชำให้ดินเปียกชุ่มตลอดทั้งถุงใช้ไม​้ขนาดเล็กปลายแหลมแทงดินบริเวณกลางปากถุงให้ล​ึกเท่าความยาวของรากกล้าไม้ ใส่กล้าไม้ลงไปบีบดินให้แน่นทั้งส่วนคอรากและปลายรากเมื่อย้ายกล้าไม้ลงถุงชำแล้วควรรดน้ำตามให้ทั่วเพื่อช่วยให้กล้าไม้ตั้งตัวได้เร็วการดูแลรักษากล้าไม้ ควรรดน้ำวันละ 2-3 ครั้งให้ดินในถุงเปียกชื้นอย่างทั่วถึงคอยถอนวัชพืชที่ขึ้นในถุงชำออกให้หมด เพื่อป้องกันการแก่งแย่งอาหารกับกล้าไม้ ตลอดจนคอยทำการลิดรากที่โผล่จากถุงชำ เพื่อป้องกันรากชอนไชลงไปในดิน จัดเรียงถุงชำตามลำดับความสูงของกล้าไม้ เพื่อให้กล้าไม้ทุกต้นมีโอกาสได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง ทำให้กล้าไม้มีการเจริญสม่ำเสมอใกล้เคียงกัน กล้าไม้ตีนเป็ดอายุประมาณ 3 เดือน สามารถย้ายปลูกลงในพื้นที่ที่เตรียมเอาไว้ได้ และให้ผลดี แต่ปัญหาอยู่ที่ฤดูกาลเนื่องจากเมล็ดตีนเป็ดเก็บราวเดือนมีนาคมการเพาะกล้าจนได้กล้าไม้ในถ​ุงชำอายุ 3 เดือนจึงมักจะช้าไปไม่ทันฤดูกาลปลูก ฉะนั้นควรเตรียมเก็บเมล็ดล่วงหน้าไว้เพื่อนำมาใช้เพาะกล้าเพื่อจะได้กล้าที่มีขนาดพอเหมาะท​ี่จะปลูกได้ในระยะต้นฤดูฝน